วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

ตัวอย่างโครงงานวิชาวิทยาศาสตร์-มัธยมศึกษาตอนต้น

กิตติกรรมประกาศ

โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาจาก(ชื่อ นามสกุล )ครูที่ปรึกษาโครงงาน ให้คำเสนอแนะ แนวคิด ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆมาโดยตลอด จนโครงงานเล่มนี้เส็จสมบูรณ์ ผู้ศึกษา

จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

ขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ และ บริษัท ฮงฮวด จำกัด ที่ให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ รวมทั้งเป็นกำลังใจที่ดีเสมอมา

คณะผู้จัดทำ

ชื่อโครงงาน สบู่สมุนไพร
ชื่อสมาชิก (ชื่อ นามสกุล ) ( ชั้นเรียน ) ( เลขที่ )
(ชื่อ นามสกุล ) ( ชั้นเรียน ) ( เลขที่ )
(ชื่อ นามสกุล ) ( ชั้นเรียน ) ( เลขที่ )
(ชื่อ นามสกุล ) ( ชั้นเรียน ) ( เลขที่ )
(ชื่อ นามสกุล ) ( ชั้นเรียน ) ( เลขที่ )


บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญของโครงงานเรื่องนี้คือคณะผู้จัดทำ เห็นว่ามลพิษทั้งฝุ่น ,ควัน และสภาวะโลกร้อนทำให้ผิวหนังเสื่อมโทรมเนื่องจากแสงแดดหากเราซื้อสบู่ตามห้างสรรพสินค้ามาใช้นั้นอาจจะมี
ราคาแพงเพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศผู้จัดทำจึงศึกษาสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น ว่านหางจระเข้,ดอกอัญชัน,มะนาว มาทดลองสกัดสาร ออกฤทธิ์ด้วยน้ำ
เพื่อเปรียบเทียบปริมาณที่เหมาะสมของสมุนไพรที่ทำให้ อาสาสมัครเกิดความพึงพอใจ คืออัตราส่วนสมุนไพร 60 กรัมต่อสบู่กลีเซอรีน 150 กรัมและสมุนไพรในรูปของเหลวน่าพึงพอใจเทียบเท่าของแข็ง

บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

โครงงานเรื่องสบู่สมุนไพร นั้นจัดทำเพื่อศึกษาการทำสบู่จากสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่น และ สบู่ที่เราทำนั้นมีส่วนผสมหลัก สบู่กลีเซอลีน น้ำ ว่านหางจระเข้ ดอกอัญชัน น้ำมันหอมระเหย
มะนาว ดังปรัชญา ”เศรษฐกิจพอเพียง”ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนวทางดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรไทย ทรงย้ำถึงการพัฒนาที่ต้องพึ่งตนเอง ความพอมี พอใช้
รู้จักพอประมาณ ส่งเสริมการประหยัดในครัวเรือน

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อศึกษาการทำสบู่
2. เพื่อหาส่วนประกอบที่เหมาะสมในการทำสบู่
3. เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการทำสบู่ได้อย่างถูกต้อง

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
โครงงานนี้จัดทำที่ (ชื่อโรงเรียน) (ที่อยู่ของโรงเรียน) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 25256 ถึง วันที่ 9 มกราคม พ.ศ.25257 ใช้ค่าใช้จ่ายประมาณ 200 บาท

ตัวแปรเกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น -สารสกัดสมุนไพร
ตัวแปรตาม -คุณสมบัติในการบำรุงผิวพรรณ
ตัวแปรควบคุม -ปริมาณของสมุนไพร

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถประกอบอาชีพได้
2. ใช้ค่าใช้จ่ายน้อย
3. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผู้ทำโครงงานได้ศึกษาความรู้ในเรื่องต่างๆดังนี้
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. ชื่อทั่วไป : ว่านหางจระเข้
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Aloe barbadensis Mill.
วงศ์ : Liliaceae
ลักษณะของพืช : ไม่มีข้อมูล

การปลูก : ว่านหางจระเข้ปลูกง่าย โดยการใช้หน่ออ่อน ปลูกได้ดีในบริเวณทะเลที่เป็นดินทรายและมีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ดี จะปลูกเอาไว้ในกระถางก็ได้ในแปลงปลูกก็ได้ ปลูกห่างกันสัก 1-2 ศอก
เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องมีการระบายน้ำดีพอ มิฉะนั้นจะทำให้รากเน่าและตาย ว่านหางจระเข้ชอบแดดเรไร ถ้าถูกแดดจัดใบจะเป็นสีน้ำตาลแดง
ส่วนที่ใชัเป็นยา : วุ้นจากใบ
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : เก็บในช่วงอายุ 1 ปี
รสและสรรพคุณยาไทย : รสจืดเย็น โบราณใช้ทาปูนแดงปิดขมับใช้แก้ปวดศีรษะได้
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ : วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-cmidin, Aloesin, Aloin, สารประเภท glycoprotein และอื่นๆ ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร
anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่า วุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี
เพราะวุ้นใบมีสรรพคุณรักษาแผลต่อต้านเชื้อแบคทีเรียช่วยสมานแผลได้ด้วย และยังนำมาพัฒนารูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทั้งทางด้านยาและเครื่องสำอางค์ แชมพูสระผม อีกด้วย

2. ชื่อทั่วไป : อัญชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitoria ternatea L.
ชื่อวงศ์: Leguminosae
ชื่อสามัญ: Blue pea, Blue vine, Butterfly pea, Pigeon wings
ชื่อพื้นเมือง: แดงชัน หรือ เอื้องชัน

ลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม
ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม มีใบย่อย 5-9 ใบ รูปไข่แกมรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
ดอก สีขาว ฟ้า และม่วง ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ตามซอกใบ รูปดอกถั่ว มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน กลีบดอก 5 กลีบ ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง
ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็ก แต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 ซม.
ฝัก/ผล ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 5-8 ซม.
เมล็ด รูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด

ฤดูกาลออกดอก: ออกดอกเกือบตลอดปี

การขยายพันธุ์: การเพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์:
- เป็นไม้ประดับแสนสวย เป็นอาหาร ยา และเครื่องสำอาง
- นอกจากนั้นอัญชันเป็นพืชตระกูลถั่ว จึงปลูกคลุมดินเป็นปุ๋ยพืชสด บำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์
- ลำต้นและใบสดใช้เป็นแหล่งอาหารของสัตว์เช่น แพะ แกะ โค กระบือได้
ถิ่นกำเนิด: อินเดีย
แหล่งที่พบ: พบขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปในหลายพื้นที่ มีสภาพที่แตกต่างกัน ทั้งในดินร่วนปนทราย ดินเหนียว ดินทราย
ส่วนที่ใช้บริโภค: ดอก
การปรุงอาหาร: กินเป็นผักได้ ทั้งจิ้มน้ำพริกสดๆ หรือชุบแป้งทอด

3 น้ำมันหอมระเหย (อังกฤษ: essential oil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้มาจากพืช มาใช้ในการบำบัดตามศาสตร์สุคนธบำบัด ซึ่งแปลว่าการบำบัดโดยการใช้กลิ่นโดยทั่วไปน้ำมันหอมระเหย
จะถูกสกัดด้วยการกลั่น และถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม เครื่องสำอาง สบู่ ธูปและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อเพิ่มความหอม

4. ชื่อทั่วไป : มะนาว
ชื่ออื่น ๆ : มะนอเกละ, ปะนอเกล, มะเน้าด์เล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ปะโหน่งกลยาน (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ส้มมะนาว (ทั่วไป), หมากฟ้า (เงี้ยง-แม่ฮ่องสอน),
โกรยชะม้า (เขมร-สุรินทร์), ลีมานีปีห์ (มลายู-ภาคใต้)
ชื่อสามัญ : Common lime, Lime
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia Swing.
วงศ์ : RUTACEAE

ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ยืนต้น ลำต้นมีความสูงประมาณ .5-3.5 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเรียบเกลี้ยง ส่วนกิ่งก้านอ่อนมีหนามยาวประมาณ 3-13มม.
ใบ : ใบออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือรูปรียาว ปลายใบแหลม โคนใบกลมมีปีกแคบ ๆ ริมขอบใบหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-5.5 ซม.
ยาวประมาณ 2.5-9 ซม.
ดอก : ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ มีประมาณ 5-7 ดอก หรืออาจเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกมีสีขาว กลีบดอกมีประมาณ 4-5 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปรียาว ปลายกลีบแหลม
มีขนาดยาวประมาณ 7-12 มม. กว้างประมาณ 2.5-5 มม. ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมียเล็ก ๆ อยู่
ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปกลม พื้นผิวเรียบเกลี้ยง ขนาดของผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 นิ้ว ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผลก็เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อในผลจะแยกออกเป็นซีก
ภายในเนื้อก็จะมีเมล็ด ลักษณะกลมรี สีเหลืองอ่อน ผลหนึ่งก็จะมีหลายเม็ด

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย ไม่ชอบที่แฉะ หรือที่ที่มีน้ำขัง มีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง

ส่วนที่ใช้ : ใบ ผล เปลือกผล ราก

สรรพคุณ :
ใบ ใช้ใบสดประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินใช้ เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเสีย ช่วยขับลม และทำให้เจริญอาหาร เป็นต้น
ผล ใช้ผลสด นำมาคั้นเอาน้ำกิน หรือกินสด เป็นยาแก้กระหาย แก้ร้อนใน บำรุงธาตุเจริญอาหาร แก้เลือดออกตามไรฟัน และถ่ายพยาธิ หรือใช้ผลดองเกลือ จนเป็นสีน้ำตาล
ใช้เป็นยาขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ เป็นต้น
เปลือกผล ใช้เปลือกผลแห้ง ประมาณ 10-15 กรัม ต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหาร ขับลม เป็นต้น
ราก ใช้รากสด ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ฟกช้ำจากการถูกกระแทก หรือจากการหกล้มแก้ปวด และแก้พิษสุนัขบ้ากัด เป็นต้น

ตำรับยา :

1. แก้กระหายน้ำ คอแห้ง ไม่มีเสียง ให้ใช้ผลสด นำมาคั้นเอาน้ำประมาณ 1 ถ้วยชา และ ผสมกับเกลือ น้ำตาลทราย ในปริมาณพอเหมาะ จากนั้นก็นำมาชงกับน้ำอุ่นหรือใช้ผสมกับน้ำ
แข็งรับประทาน
2. เมื่อถูกแมงป่องต่อย หรือตะขาบกัด ให้ใช้ผลสดคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่ถูกกัด
3. คลื่นไส้ อาเจียน เป็นลม ให้ใช้เปลือกผลสด นำมาขยี้ผิวสูดดม
4. ปวดฝี ให้ใช้รากสด นำมาฝนกับสุราแล้วใช้ทา

5. กลีเซอรีน เป็นของเหลวหนืดใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสหวาน ใช้มากในอุตสาหกรรมทําสบู่ เพราะใช้ละลายสารต่างๆที่สามารถละลายในนํ้าได้ นอกจากนี้กลีเซอรีนยังเป็นส่วนช่วยหล่อลื่น
ขจัด ความสกปรกที่ฝังแน่น รวมทั้งปลอดภัยต่อผิวหนัง และเนื้อผ้าทุกชนิด หา ซื้อได้ตามร้านขายยาทุกชนิด หรือร้านขายเคมีภัณฑ์ ถ้าผสมกลีเซอรีน 1 ช้อนโต๊ะ ลงในนํ้า ซักผ้าขนสัตว์
จะทําให้ขนสัตว์ฟูอ่อนนุ่มขึ้น ถ้าใช้กลีเซอรีนทามือก่อนนอนทุกคืน จะช่วยถนอมมือให้นุ่มนวลอยู่เสมอหยด กลีเซอรีนบนรอยเปื้อนมัสตาร์ดบนผ้าแล้วนํ้ไปซักรอยเปื้อนจะหายไป

บทที่ 3

วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง

อุปกรณ์และสารเคมี
อุปกรณ์
1. หม้อ
2. เครื่องปั่น
3. ภาชนะตวง, ผ้าขาวบาง, แบบพิมพ์
วัสดุและสารเคมี
1. ว่านหางจระเข้
2. สบู่กลีเซอรีน
3. ดอกอัญชัน, มะนาว
4. แอลกอฮอล์

วิธีการทดลอง
1.นำว่านหางจระเข้มาปลอกเปลือกก่อนแล้วล้างน้ำให้สีเหลืองออกให้เหลือแต่วุ้นใสแล้วหั่นเป็นลูกเต๋า







2.นำดอกอัญชันมาต้มในน้ำร้อนเพื่อให้ได้สารสีม่วงแล้วเติมน้ำมะนาว








3.เมื่อได้ส่วนผสมทั้งหมดแล้วนำไปปั่นให้ระเอียดเป็นเนื้อเดียวกันแล้วกรองบนผ้าขาวบางแล้วใช้ช้อนคนช่วยให้กรองง่ายพอเสร็จแล้วใส่ภาชนะ







4.นำสบู่กลีเซอรีนใส่กระมัง วางบนหม้อต้มน้ำ เพื่อให้ไอน้ำระเหยไปหลอมสบู่ ข้อดีคือสบู่ไม่ไหม้ควรควบคุมอุณหภุมิ 55-60องศา














5.ขั่นตอนการทำสบู่สมุนไพร หลอมสบู่กลีเซอรีนโดยตัดสบู่เป็นชิ้นเล็กๆหลอมสบู่ในกระละมังใช้ไฟอ่อนๆจนสบู่ละลายหมดเทสมุนไพรความเข้มข้น5% , 20% , 40 % คนเบาๆช้าๆ
ถ้าคนเร็วเกินทำให้สบู่เกิดฟองและสีขุ่นเติมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยระวังอย่าให้สบู่เย็นเกินไปเพราะจะต้องทำใหม่และกลิ่นหายด้วยเทลงแม่พิมวางให้อยู่แนวราบเสมอกันและไม่ต้องเคลื่อนย้ายแล้ว
ใส่แอลกอฮอลเล็กน้อยเพื่อกำจัดฟองสบู่ทิ้งไว้ให้สบู่เย็น1-3ชมถ้าแกะไม่ออกให้แช่ตู้เย็น20นาทีและเอาออกวางไว้ 3นาทีหรือใช้นำน้ำร้อนรินนิดนึง









6.แบ่งวุ้นว่านหางจระเข้เรียงใสแม่พิม และแบ่งสบู่กรีเซอรีนหลอมเหลวแล้วแต่ไม่เติมสมุนไพรมาเติมกลิ่นเซ็นต์เซียลอยและเติมสี วางวุ้นว่านหางจระเข้นำลินลงสบู่ตรงกลางแบบพิมพ์
ใส่แอลกอฮอลลงเล็กน้อย ปล่อยให้สบู่แห้งดี แกะจากแม่พิมพ์









7.นำสบู่ 4 ก้อนไปให้อาสาสมัครทั้ง35คนลองใช้แล้วบันทึกผล

บทที่ 4

ผลการทดลอง
จากการทดลองเรื่องสบู่สมุนไพรบำรุงผิวพรรณทำให้ผู้จัดทำได้สำรวจคุณสมบัติการบำรุงผิวพรรณของสบู่สมุนไพร จากการเปรียบเทียบคุณสมบัติจะเห็นได้ดังนี้









จากการทดลองสรุปว่า สบู่สมุนไพรที่ทำให้เกิดความพึงพอใจมากที่สุดคืออัตราส่วนระหว่างสมุนไพร 60 กรัมต่อสบู่กลีเซอรีน 150 กรัม และรูปแบบสถานะของสมุนไพรก่อให้เกิดความพึงพอใจได้เท่าเทียมกันระหว่างรูปแบบของเหลวและของแข็ง

บทที่ 5

สรุปผลการทดลอง

สรุปได้ว่า
สบู่สมุนไพรที่ทำให้เกิดความพึงพอใจมากที่สุดคืออัตราส่วนระหว่างสมุนไพร 60 กรัมต่อสบู่กลีเซอรีน 150 กรัม และรูปแบบสถานะของสมุนไพรก่อให้เกิดความพึงพอใจได้เท่าเทียมกัน
ระหว่างรูปแบบของเหลวและของแข็ง

อภิปรายผลจากการวิเคราะห์

สบู่สมุนไพรที่ดีที่สุดคือสบู่ที่มีอัตราส่วนระหว่างสมุนไพรต่อสบู่กลีเซอรีนสูงที่สุดเพราะสมุนไพรมีคุณสมบัติบำรุงผิวพรรณแตกต่างจากสารเคมีซึ่งอาจจะชำระล้างความชุ่มชื้นออกไปจากผิวหนังได้

ข้อเสนอแนะ

ในการทดลองครั้งนี้ทำเพียงเปรียบเทียบความเข้มข้นสมุนไพรและรูปแบบสถานะสมุนไพร ทั้งนี้ควรมีการทดลองเพิ่มเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสกัดสารออกฤทธิ์จากสมุนไพร
และควรศึกษากับสมุนไพรชนิดอื่นๆ

1 ความคิดเห็น: